วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

แนะนำ

แนะนำ

ยินดีต้อนรับเข้าสู้บล๊อก การฝึกสุนัข

ภายในบล๊อกนี้จะประกอบไปด้วย

บล๊อกนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีในการสื่อสารมวลชน
ในวิชา Com226 เทคโนโลยีเพื่องานสื่อสารมวลชน
ที่ทุกท่านสามารถเข้ามาหาความรู้เกี่ยวกับการฝึกสุนัขในบล๊อกนี้ได้
หวังว่าทุกคนคงจะได้รับความรู้จากบล๊อกนี้ไม่มากก็น้อย



ผู้จัดทำ : ฐิติกาญจน์ วงศ์ชัยประเสริฐ (เกด)
รหัสนักศึกษา : 5503783
กลุ่ม : 09
คณะ : นิเทศศาสตร์
สาขา : ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
มหาวิทยาลัย : รังสิต









Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand License.

Gallery : รูปภาพ

Gallery : รูปภาพ



































Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a 

คลิปสัมภาษณ์ผู้รู้เรื่องการฝึกสุนัข : คุณภาสวร แสงตระคล้อ

คลิปสัมภาษณ์ผู้รู้เรื่องการฝึกสุนัข : คุณภาสวร แสงตระคล้อ




ชื่อผู้ให้ความรู้ : คุณภาสวร แสงตะคล้อ


สิ่งที่จะฝึกให้กับสุนัขขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง ?

                สิ่งที่จะฝึกให้กับสุนัขขั้นพื้นฐาน สำหรับที่ลงเรียนเข้ามาส่วนใหญ่สุนัขมีปัญหาเรื่องการสื่อสารไม่เข้าใจ และความดื้อความซนที่อยู่ในตัวสุนัขซึ่งเป็นปกติของนิสัยสุนัข

มีวิธีการฝึกอย่างไรบ้าง ?

                 สำหรับวิธีการที่เราไว้ใช้ฝึกสุนัขก็จะมีวิธีการอยู่ 2 อย่าง คือการใช้เสียงกับการใช้สัญญาณ หลักการฝึกของสุนัข โดยรวมเบื้องต้นตั้งแต่ การใช้ความผูกพัน ใช้ความรักต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตรงนั้นก่อน

ระยะเวลาการฝึกต้องใช้เวลานานแค่ไหน?

                  ระยะเวลาการฝึกสำหรับสุนัขที่เข้ามาเรียนขั้นพื้นฐาน สุนัขที่พอจะสามารถรู้เรื่องได้ ก็จะมีระยะเวลาก็คือ 3 เดือน

เริ่มต้นกับสุนัขอายุประมาณเท่าไร ?

                   สุนัขที่เริ่มต้นเข้ามาในโรงเรียน ก็คือเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 4 เดือนขึ้นไป เราจะดูจากโปรแกรมการฉีดวัดซีนสุนัข ถ้าครบหรืออาจจะเหลือแค่พิษสุนัขเข็มสุดท้ายก็สามารถเข้ามาเรียนได้

เหตุผลที่เราต้องฝึกสุนัขคืออะไร ?

                    อย่างที่บอกไว้เบื้องต้นว่าสุนัขไม่เข้าใจภาษา สุนัขไม่เข้าใจภาษามนุษย์ เวลาเราพูดไปปุ๊ป มันจะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสาร เช่น เรียกเขามาเขามาไหม เราสั่งห้ามเขาทำไหม นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเราต้องฝึกสุนัข เพราะว่าสุนัขส่วนใหญ่แล้วเขาจะทำในสิ่งที่เขาอยากทำ แต่พอเราห้ามไปปุ๊ป เขาไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เราห้ามได้ เช่น ไม่ให้กัดต้นไม้ ไม่ให้กัดข้าวของ อย่างเช่นไม่ให้เห่าอย่างที่ได้ยินเสียงเมื่อสักครู่ เราจะห้ามเขาได้ยังไง นั่นคือเหตุผลที่ทำไมสุนัขจะต้องมาเรียนรู้เรื่องการใช้ภาษา

ขอรบกวนให้พี่พาไปดูการฝึกสุนัขได้ไหมคะ ?

                     ได้เดี๋ยวเอาน้องเข้ามาฝึกให้ดูในนี้ สิ่งแรกสำหรับการใช้ฝึกสุนัขก็คือสายจูง ตรงนี้ก็คือโซ่คล้อง การใช้สายจูงสำหรับสุนัข ช่วงแรกสุนัขที่ไม่คุ้นเคยสายจูงอาจจะต้องทบสายจูง ทำให้เขาคุ้นเคยกับสายจูงก่อน ก็คือการปรับให้เป็นสายจูงก่อย ถ้าสุนัขคุ้นเคยเรียบร้อยแล้วให้ทำให้โซ่เคลื่อนไหวได้ เพื่อเอาไว้ใช้ห้ามหรือไว้ทำโทษสุนัข ท่าแรกสำหรับการฝึกก็คือท่าฝึกเดินชิด สุนัขจะต้องอยู่ด้านซ้ายมือเรา แล้วก็พาสุนัขเดินชิด ห้ามให้สุนัขเดินนำหน้าเราพอสุนัขเดินได้แล้วเราก็ต้องให้รางวัล หลักการฝึกสุนัขมีอยู่ 5 ข้อคือ 1.รู้จักวิธีการฝึก 2.การทำซ้ำ 3.ความอดทน 4.การแก้ไข 5.รางวัลและความชมเชย ขาดทั้ง 5 ข้อนี้ไม่ได้

                      เวลาพาสุนัขเดินพอเดินได้เราก็ให้รางวัล ต่อไปท่านั่ง เวลาสุนัขนั่งไม่ได้ช่วงใหม่ๆ ช่วงแรกๆ อย่างที่บอกคือเราต้องให้เขารู้จักภาษาก่อน เขานั่งเป็นอยู่แล้วแต่เขาไม่รู้จักภาษาที่เราจะบอกให้นั่ง เราก็จับสายจูงด้วยมือขวา สมมุติว่าสุนัขนั่งไม่ได้ มือขวาดึงสายจูงมือซ้ายกดบริเวณโคนหาง ห้ามกดบริเวณหลัง เพราะว่าสุนัขบางตัวหลังเขาจะมีปัญหาถ้าเรากดแรงๆ ข้อต่อหรือกระดูกสันหลังเขาจะมีปัญหา ให้กดบริเวณโคนหางเท่านั้น ส่วนท่าหมอบสุนัขนะครับง่ายๆ คือจับเขาไว้ก่อน จับให้เขารู้จักท่าหมอบแล้วก็ค้างไว้ท่าละประมาณ 1 นาที แต่ละท่าเริ่มต้นเลย ค้างไว้ท่าละ 1 นาที นั่งก็ 1 นาที หมอบก็ 1 นาที แล้วก็ให้รางวัลเขาเหมือนเดิมในการลูบหัวแล้วก็ชมเขาไปว่า "เก่งมาก ดีมาก" สุนัขเขาจะตอบกลับมาด้วยการดีใจ กระดิกหางหรือจะมองหน้าเรา ส่วนท่าที่ 3 คือ ท่ายืน จับสายจูงด้วยมือขวาเหมือนเดิม แต่มือขวาเหมือนเดิม แต่มือเราไปช้อนท้องเขาบริเวณท้องเขา เราก็บอกเขายืน แล้วเราก็ให้รางวัลเขาเหมือนเดิม ส่วนคำว่าคอยก็คือให้สุนัขคอยหรือว่ารออยู่ในท่านั้นๆ เช่น นั่งคอย ยืนคอบ หมอบคอย ส่วนเวลาเราจะทำโทษสุนัข ถ้าสุนัขรู้แล้วเราจะทำโทษสุนัขในกรณีเช่น เราสั่งนั่ง สมมุติสุนัขตัวนี้ฝึกมาเรียบร้อยแล้ว เขาดื้อเขาไม่ฟังเรา เราก็จะใช้วิธีการกระตุกสายจูง ววิธีการทำโทษสุนัขจะมีการทำโทษตั้งแต่เบาไปหาหนัก ไม่ใช่หนักเลย น้ำเสียงต้องดุด้วย เช่น ไม่ พอสุนัขหยุดเราก็จะไม่ทำโทษเขาต่อ แต่ถ้าสุนัขไม่หยุด เราก็จะทำโทษเพิ่มไปเรื่อย จนกว่าสุนัขจะหยุด แล้วก็สั่งเจาทำท่าที่เราต้องการเช่น นั่งคอย เขาก็จะคอยเราพอเขาคอยได้เสร็จเราก็จะให้รางวัล เราก็จะชมเจาก็คือรางวัล พอสุนัขทำได้แล้ว แล้วเราไม่ทำโทษเขาให้รางวัลเขา เขาก็จะเข้าใจในสิ่งที่เราให้เขาทำ ชิดก็คือต้องการให้ชิดข้างขาเรา เวลาเราสั่งเขาพอเขาฟังคำสั่งแล้ว นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องฝึกสุนัข พอสุนัขดื้อเราก็สามารถห้ามปรามได้ แต่จะต้องมีความอดทนด้วยอย่างที่บอกว่าข้อ 3 คือความอดทน ถ้าเกิดเจ้าของหรือว่าผู้ฝึกไม่มีความอดทนมันก็ไม่มีความอดทนมันก็ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้สุนัขเชื่อฟังคำสั่งของเราได้เลย ก็ลองกลับไปทำดู ถ้าเกิดเรามีเวลาว่างจับสุนัขมา วันนี้ไม่ได้ไม่ต้องไปเร่งฝึกว่าวันนี้ต้องได้ทำนี้ วันนี้ไม่ได้ พรุ่งนี้ก็ได้พรุ่งนี้ไม่ได้วันต่อไปก็ได้ เราพยายามทำบ่อยๆทำซ้ำๆอย่างที่บอกหลักการสุนัขมีอะไรบ้าง ก็คือ 1.รู้วิธีการฝึก 2.ทำซ้ำๆอย่างนี้ 3.เพิ่มความอดทน 4.คือการแก้ไขสุนัขทำผิดต้องแก้ไขไม่ใช่ว่าเราสั่งสุนัขนั่งแล้วสุนัขไปทำท่าหมอบแล้วเราไม่แก้ไขเขาไม่ได้

ขอขอบคุณศูนย์ฝึกสุนัขภาสวร
ที่อยู่ : สายไหม 82 เขตสายไหม กทม.
เบอร์โทรศัพท์ : 02-994-3130
มือถือ : 081-752-2299
E-mail  :  pasaworn.dogtraining@gmail.com
Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a
Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand License.

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการฝึก


สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการฝึก



                  ก่อนจะเริ่มทำการฝึก สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือความพร้อมทั้งสภาพร่างกายของผู้ฝึก และสภาพร่างกายของสุนัขความเหมาะสมของสถานที่ และอุปกรณ์ในการฝึกต่างๆ เพราะหากผู้ฝึกมีความพร้อมทุกประการอย่างครบถ้วน ก็เท่ากับว่าการฝึกได้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว ความพร้อมทั้ง 10 ประการที่ผู้ฝึกต้องคำนึงถึง ได้แก่

1.ตรวจสอบความพร้อมทางร่างกายของผู้ฝึกและสุนัข เช่น ผู้ฝึกจะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไม่อยู่ในสภาวะที่เจ็บป่วย ส่วนสุนัขก็ต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีอาการหงอยเหงา เศร้าซึม ถ่ายเหลว จมูกแห้ง หรือมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าสุนัขกำลังป่วยอยู่ก็ได้ ถ้าหากพบว่า สุนัขมีความผิดปกติดังกล่าว ก็ไม่ควรนำออกมาฝึกจนกว่าจะหายเป็นปกติ

2.เตรียมอุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกให้ครบถ้วน โดยนำอาหารหรือของเล่นใส่ไว้ในกระเป๋าคาดเอวที่สามารถหยิบได้สะดวก

3.ใส่โซ่คอ หรือปลอกคอ และสายจูงให้แก่สุนัขอย่างถูกต้อง ถ้าหากใช้โซ่คอจะต้องล็อกเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้โซ่รัดคอสุนัขในขณะที่ทำการฝึก หรือถ้าหากใช้ปลอกคอก็จะต้องตรวจสอบดูว่าขนาดพอดีกับคอสุนัขหรือไม่ โดยจะต้องไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

4.สถานที่ที่จะใช้ในการฝึก ควรเป็นบริเวณสนามหญ้าหรือในโรงยิม โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการฝึกก็คือ ตอนเช้าหรือตอนเย็นที่แดดร่มลมตกไปแล้ว หรือหากฝึกในเวลาอื่นก็ควรเป็นสถานที่ๆไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป

5.การขับถ่าย ควรให้สุนัขขับถ่ายให้เรียบร้อยก่อนทำการฝึก และห้ามมิให้ขับถ่ายในบริเวณสนามฝึกโดยเด็ดขาด

6.ถ้าหากฝึกโดยการใช้อาหารเป็นรางวัล ควรจะงดอาหารล่วงหน้าก่อนการฝึก

7.ก่อนเริ่มฝึก ควรให้สุนัขกินอาหารที่เตรียมไว้สักเล็กน้อย

8.ถ้าหากฝึกโดยการใช้ของเล่น ก็ไม่ต้องงดอาหารโดยเราสามารถให้อาการแก่สุนัขได้ตามมื้อปกติ แต่ไม่ควรให้อาหารก่อนที่จะนำสุนัขออกมาฝึก เพราะอาจทำให้สุนัขขาดความกระตือรือร้นในการฝึก หรืออาจทำให้จุก อาเจียนได้

9.การให้น้ำดื่มแก่สุนัข ควรให้หลังจากที่สุนัขพักจากการฝึกไปแล้วอย่างน้อย 5 นาที และไม่ควรจะให้น้ำเย็น หรือ น้ำแข็งแก่สุนัขหลังการฝึก

10.การให้อาหารแก่สุนัข ควรให้หลังจากที่เสร็จสิ้นการฝึกไปแล้วอย่างน้อย 30 นาที


นิศสกานต์ จาดบัณฑิต. "ความพร้อม10ประการสำหรับครูฝึกมือใหม่" ใน ง่ายแค่พริบตา ฝึกหมาให้แสนรู้หน้า 51-56. ชวลิต เผ่าผม. บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ . บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน). 2548.





Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a
Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand License.

หลักในการฝึกสุนัข


หลักในการฝึกสุนัข




                 หลักการสำคัญของการฝึกสุนัขไม่ว่าจะเป็นสุนัขทุกชนิดทุกพันธู์มีการฝึกที่เหมือนกัน อาศัยหลักการฝึกอันเป็นรากฐานสำคัญ 3 ประการคือ

1.ความตั้งใจจริง
                  ผู้ฝึกสุนัขที่ดีจำเป็นต้องมีความตั้งใจอย่างจริงจังในการฝึก โดยต้องมีความอดทน และความพากเพียรต่อความยุ่งยากลำบากนานาประการ เพราะวิธีการที่สุนัขจะได้เรียนและเกิดความชำนาญได้ก็คือการปฏิบัติซ้ำๆซากๆ ฝึกสอนสุนัขซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนสุนัขเข้าใจและปฏิบัติตามคำสั่ง ผู้ฝึกจะต้องมีความสุขุมเยือกเย็น ใช้น้ำเสียงที่ประกอบด้วยความเมตตากรุณาและจิตใจสูงพอที่จะเข้าใจได้ว่า สุนัขจะไม่สามารถทำอะไรได้ทุกสิ่งทุกอย่างได้เหมือนมนุษย์

2.ความขยันหมั่นเพียร
                  คุณสมบัติของผู้ที่จะทำการฝึกหัดสุนัขมักจะเสียไป ทำให้การฝึกสุนัขไม่ได้ผลและทำให้เกิดความเบื่อหน่ายไปในที่สุด ได้แก่การขาดความขยันหมั่นเพียรและไม่เอาจริงเอาจังนั่นเอง การฝึกสุนัขให้ปฏิบัติอย่าเดียวกันซ้ำๆซากๆ จนกระทั่งสุนัขทำได้ถูกต้องเรียบร้อย เป็นงานที่ต้องบังคับใจตนเองอย่างมาก เมื่อผู้ฝึกเกิดอารมณ์เสียแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะบังคับใจตัวเองได้ สิ่งนี้จะทำให้สุนัขเกิดความสับสน จึงควรเข้าใจว่า การฝึกสุนัขนั้นจะได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ฝึกมีความขยันหมั่นเพียร ทำการฝึกสุนัขทุกๆวันตามเวลาโดยเข้มงวดเท่านั้น

3.ความรู้ในการฝึก
                  การฝึกสุนัขนั้นก็เหมือนกับการปฏิบัติงานอื่นๆ ผู้ฝึกจะต้องมีความรู้ความเข้าใจวิธีการฝึก แบบของการฝึก และให้บทเรียนที่ถูกต้องแก่สุนัขทีละขั้นจากบทเรียนง่ายๆ ไปหาบทเรียนที่ค่อยๆยากขึ้นไปตามลำดับ

ประสงค์ สุวรรณมงคล. "หลักการฝึกสุนัข" ใน ความรู้เกี่ยวกับการฝึกสุนัข หน้า 43-44. นนทบุรี . สำนักพิมพ์แพค.                     2545.

หลักการฝึกสุนัขโดยละเอียด(Principles of Training)



                  ถ้าจะให้การฝึกสุนัขได้ผลดี ผู้ฝึกต้องมี ต้องรู้ ต้องหา ต้องใช้ ต้องทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการฝึกสุนัขหลายประการ เช่น

1.รู้วิธีการฝึก รู้ว่าฝึกอย่างไร (Know-how)



                   ผู้ฝึกพร้อมสุนัขควรอยู่ในลักษณะท่าใด ตำแหน่งใด วิธีการเคลื่อนย้าย การใช้คำสั่ง การแก้ไข การปฏิบัติควรหนักเบา เน้นอะไร ฯลฯ การฝึกสุนัขก็เหมือนการปฏิบัติงาน ผู้ฝึกจะต้องมีความรู้จริง รู้ท่องแท้ รู้ทันสุนัขที่ท่านฝึก เข้าใจวิธีการฝึก ท่าทางของการฝึก อ่านสุนัขออกว่าสุนัขที่ท่านฝึก เข้าใจวิธีการฝึก ท่าทางของการฝึก อ่านสุนัขออกว่าสุนัขชอบหรือมีนิสัยอย่างไร ให้สอนบทเรียนที่ถูกต้อง จากง่ายไปหายาก

2.การทำซ้ำ (Repetition)

                    การฝึกสุนัขมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำท่าเดิมซ้ำบ่อยๆ และต้องใช้คำสั่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกว่าสุนัขจะทำได้เข้าใจ หรือปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว ผู้ฝึกจะต้องฝึกให้สุนัขทำซ้ำๆซากๆ จนเกิดทักษะ ความชำนิชำนาญ ทำได้รวดเร็วและทำได้เป็นระเบียบเรียบร้อยดีในที่สุด ไม่กระทำผิดใดๆ การที่ผู้ฝึกให้สุนัขทำซ้ำๆ จะต้องเน้นให้สุนัขทำแล้วไม่เป็นอันตราย ทำแล้วเกิดความสุขใจ หากไม่มีความจำเป็น ไม่ควรบังคับขู่เข็ญให้สุนัขไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ทำแล้วไม่มีความสุขมากนัก หรือทำในสิ่งที่เกินขีดความสามารถของสุนัขจะทำได้

3.ความอดทน (Patience)

                     เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการฝึกสุนัขซึ่งเป็นสัตว์ ผู้ฝึกจะให้สุนัขทำตามคำสั่งหรือปฏิบัติำด้ถูกต้อง ได้นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะสุนัขไม่รู้จักภาษามนุษย์ ไม่รู้จักสัญญาณมือที่ใช้มาก่อนผู้ฝึกต้องอาศัยความอดทนอย่าใส่อารมณ์กับสุนัขในขณะที่ทำการฝึกเป็นอันขาด ผู้ฝึกต้องมีความอดทนสูงมากๆ ค่อยๆ ฝึกหัดไปอย่าใจร้อน อย่ามีอารมณ์ที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้ขาดการบังคับตนเอง จงพยายามทำแต่ละท่าด้วยความตั้งใจขยันหมั่นเพียร เอาจริงเอาจัง ฝึกสุนัขด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย คงเส้นคงวา หากขาดความอดทน ก็จะเป็นบ่อเกิดแห่งความสับสนผิดพลาด เสียหาย ไม่สำเร็จได้โดยง่าย ผู้ฝึกต้องหมั่นฝึกฝน มีจิตใจที่แน่วแน่ อดทนเข้าไว้ ไม่ช้าก็เร็วรับรอง จะต้องประสพผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน

4.การชมเชย หรือการยกยอ (Praise)

                 เมื่อสุนัขทำได้ถูกต้องให้ชมเชยสุนัขด้วยเสียงยุ่มยวล อ่อนหวานน่าฟังเสมอ รู้จักใช้วิธีเร้าอารมณ์ ให้ชมยกยอสุนัขอย่างเต็มที่ เมื่อสุนัขทำถูกต้องให้ชมเชยมากๆ โดยใช้คำสั่งชมเชยว่า "ดีมาก-ดี" , “ดีลูก-ดี" , “เก่ง-มาก" ฯลฯ การใช้คำสั่งชมเชยสุนัขนั้นควรแสดงถึงความจริงใจ ความเมตตาปราณี อ่อนโยน สุภาพ สุนัขย่อมรู้ว่าใครรักจริง รักไม่จริง

5.การแก้ไข (Correction)



                  เพื่อที่จะปรับปรุงดัดแปลงแก้ไขให้สุนัขทำได้ถูกต้อง ทำได้ดียิ่งขึ้น ผู้ฝึกต้องทำการแก้ไขทันทีที่สุนัขทำผิด หรือเฉยเมยไม่ทำตามคำสั่ง ผู้ฝึกจะต้องไม่ยอมให้สุนัขทำผิดแล้วปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่มีการแก้ไข สิ่งสำคัญคือระยะเวลาในการแก้ไข ต้องทำการแก้ไขทันที รีบลบล้างพฤติกรรมที่ผิด ที่ไม่พึงปรารถนาออกไปเสีย สิ่งที่ผิดรีบทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ถ้าไม่ทำการแก้ไขทันทีสุนัขจะไม่รู้ว่าเขาทำผิดอะไร

6.ความตั้งใจ (Willingness)

                   การฝึกสุนัขจำต้องมีความตั้งใจจริง จริงจังในการฝึกเป็นอย่างมาก เพระาสุนัขบางตัวกว่าจะฝึกเป็น กว่าจะนำมาใช้งานได้ ต้องมีปัญหามีอุปสรรคความยุ่งยากนานัปการ ถ้าผู้ฝึกขาดความตั้งใจจริงก็อาจทำให้เลิกฝึกกลางคัน หรือฝึกไม่สำเร็จได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ฝึกที่ดีไม่ควรทอดทิ้งการฝึกแบบครึ่งๆกลางๆ หรือคาราคาซัง หากผู้ฝึกไม่ยอมฝึกสุนัขให้จบ และให้ผู้ฝึกคนใหม่มาฝึกแทน ซึ่งเสียเวลามาทำความคุ้นเคยกันใหม่อีก

7.ความรัก ความเมตตาปราณี (Kindness)



                    สิ่งนี้นับเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความเจริญทางด้านจิตใจของผู้ฝึก ผู้ฝึกต้องมีความรักใคร่เอ็นดูเมตตาปราณีให้กับสุนัขอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ใช่รักเมตตาชั่วครู่ ชั่วยาม ตอนอารมณ์ดี พอเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเบื่อหน่าย หรืออารมณ์ไม่ดีแล้ว มาระบายกับสุนัข หรือไม่มาสนใจดูแลเลย ซึ่งอาจทำให้สุนัขเกิดความสับสน หว้าเหว่ ซึมเศร้าเสียหมาได้ และขณะที่ทำการฝึก ผู้ฝึกจงอย่าได้ประมาท หรือพลั้งเผลอทำการลงโทษสุนัขที่ผิดหลักการ โหดร้ายทารุณ เมื่อสุนัขขัดขืนดื้อรั้น หรือกระทำผิด เพราะไม่เข้าใจ ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง ผู้ฝึกควรระงับอารมณ์ จงฝึกด้วยความรักเมตตาปราณี หากขาดสิ่งนี้การฝึกสุนัขจะไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จที่ดีมีความแนบเนียนได้เลย เปรียบเสมือนครูไม่รักศิษย์ จะสอนให้ได้ดีได้อย่างไรกัน

8.ความฉลาด (Intelligence)

                    ไม่่ว่าจะเป็นคนหรือสุนัขต่างก็มีความเฉลียวฉลาด มีขีดความสามารถแตกต่างกัน สุนัขบางตัวมีความฉลาดมีความสามารถสูง ซึ่งเป็นคุณลักษณะเด่นที่ผู้ฝึก และทุกคนต้องการ สุนัขตัวที่มีความเฉลียวฉลาดมีความจงรักภักดี

9.ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ฝึก (Physicial and Mental Readiness)

                     หากผู้ฝึกมีร่างกายไม่สมบูรณแข็งแรงเป็นโรคติดต่อ เช่นเป็นไข้หวัด ไม่ควรทำการฝึก เพราะขณะทำการฝึก ไข้หวัดจากผู้ฝึกอาจติดต่อไปถึงสุนัขได้ หากได้ผู้ฝึกที่มีร่างกายอ่อนแอฝึกสุนัขได้วันละนิดละหน่อย สุนัขจะเป็นจะเก่งก็คงยาก ต้องใช้เวลายาวนาน

10.เสียงที่ใช้ฝึก (Noise)

                     ผู้ฝึกควรใช้เสียงที่เหมาะสม คำสั่งควรชัดเจน เสียงของผู้ฝึกมีอิทธิพลสามารถบังคับสุนัขได้ การฝึกสุนัขแต่ละตัวแต่ละพันธุ์ แต่ละขนาด จะมีนิสัยแตกต่างกันไป สุนัขบางตัวชอบเสียงเบาๆ เสียงนุ่มนวล ถ้าผู้ฝึกใช้เสียงดังมากๆ สุนัขอาจจะตกใจ หวาดกลัว บางครั้งอาจจะวิ่งหนี หรือทำตามคำสั่งด้วยความระแวงหวาดกลัว รนรานไม่เป็นธรรมชาติ การฝึกสุนัขโดยปกติผู้ฝึกจะบังคับสุนัขโดยใช้สายจูง สัญญาณมือ สายตา และเสียงบังคับสุนัขให้ทำตามคำสั่ง การใช้คำสั่ง เสียงที่ใช้ควรชัดเจน เสียงควรมีระดับสูงต่ำหนักเบาต่างกัน

11.เวลา (Time)

                     เวลาที่ใช้ทำการฝึกควรเป็นช่วงเช้ากับช่วงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศดี มีร่ม มีลมพัดผ่าน มีอุณหภูมิและความชื้นพอดี สุนัขเป็นสัตว์ที่มีขีดความสามารถ แต่ก็มีขีดจำกัด เช่น ตอนเที่ยงของฤดูร้อน ซึ่งมีอากาศร้อนจัด สุนัขก็คงไม่ค่อยอยากจะทำการฝึกหรือทำตามคำสั่ง และอาจจะเกเรดื้อรั้นในขณะทำการฝึก โดยวิ่งหลบเข้าร่มเสีย หรือขณะที่มีฝนตกหมอกลงจัด ไม่ควรนำสุนัขไปทำการฝึก เพราะผู้ฝึกและสุนัขอาจเป็นไข้หวัดได้ เวลาที่ใช้ทำการฝึกไม่ควรยาวนานมากนัก จนสุนัขเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจ หากสุนัขขย่อหย่อนเบื่อหน่าย หรือเหนื่อยนักให้พักฝึกชั่วขณะ การพักช่วยคลายเครียดให้กับสุนัขได้ การฝึกสุนัขผู้ฝึกต้องใจเย็น ต้องยอมให้เวลากับการฝึก ไม่ใช่รีบร้อนจะฝึกให้เป็นในวันสองวันต้องใช้เวลาเป็น 2 เดือน 3 เดือน หรือมากกว่า ก็ต้องยอมเสียเวลา

12.อายุ (Age)

                      สุนัขที่จะฝึกควรมีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป หากทำการฝึกสุนัขที่มีอายุน้อย ก็เหมือนการฝึกสอนเด็กเล็กๆ ซึ่งยังไม่ค่อนจะมีความพร้อม ยังไม่ค่อยสนใจการฝึกยังอยากเล่น การฝึกก็อาจจะได้ผลน้อยหากมีความจำเป็นจะต้องทำการฝึกสุนัขที่มีอายุน้อยๆ ขอให้ทำการฝึกอย่างนุ่มนวล รอบคอบ ค่อยๆฝึก และควรเลือกท่าฝึกด้วย ท่าที่เป็นอันตรายควรงดเว้น เช่น กระโดดบ่วงสูง ข้ามสิ่งกีดขวางที่ยากๆ

13.สถานที่ฝึก (Training site)



                      ควรสะอาด สะดวก ปลอดภัย ไม่มีสิ่งรบกวน หรือมีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจของสุนัข เช่นสนามหญ้าในบ้าน ใต้ร่มไม้ หรือาคารกว้างๆ ควรมีรั้วรอบขอบชิด เพื่อใช้สำหรับฝึกสุนัขใหม่ที่มีความปราดเปรียว เพื่อไม่ให้มันวิ่งหลบหนีไปไหนได้ ส่วนสุนัขเก่าที่เข้ากับเจ้าของได้ดีแล้วนั้น การฝึกสุนัขที่ดีควรมีควรมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ฝึกบ้าง เพื่อให้สุนัขเกิดความมั่นใจในพื้นที่ต่างๆ ไม่จำเจ แต่ในสภาพแวดล้อมพื้นที่เดิมๆ สุนัขบางตัวฝึกอยู่แต่ที่เดิมประจำ พอนำไปออกงานสาธิต หรือนำไปฝึกที่อื่น สุนัขไม่ยอมทำเลย

14.สายตา (Eyes)

                       ขณะที่ทำการฝึก สุนัขบางตัวจะมองตาผู้ฝึกไปด้วย สุนัขประเภทนี้จะฝึกง่าย สนใจการฝึกดีกว่าสุนัขประเภทที่ผู้ฝึกสั่งไปสุนัขมองไปทางอื่น สุนัขบางตัวจะเปลี่ยนท่าหรือจะสิ่งหนีพอผู้ฝึกจ้องมองโดยใช้สายตาที่แข็งกว้าง ดวงตาที่เข้มแข็งก็สามารถหยุดสยบทำให้สุนัขยำเกรงยินยอม ไม่เปลี่ยนท่าหรือวิ่งหนีไป และก็มีสุนัขบางตัวกำลังเห่าหอนส่งเสียงร้องส่งเดชอย่างไม่มีเหตุผล พอเห็นสายตาของผู้ฝึกก็หยุดเห่าหอนลงได้


วิโชติ สังขวร. "หลักการฝึกสุนัข" ใน คู่มือการฝึกสุนัขด้วยตนเอง . หน้า 3-11. นครปฐม . เพชรเกษมการพิมพ์.2544.






Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a
Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand License.

สิ่งที่จะฝึกให้กับสุนัขขั้นเบื้องต้น



สิ่งที่จะฝึกให้กับสุนัขขั้นเบื้องต้น




การฝึกเดินชิด



                 วิธีฝึก นำสุนัขเข้ามาอยู่ทางซ้ายของผู้ฝึก รวบสายฝึกไว้ในมือขวา สายฝึกควรจะต้องหย่อนเสมอ สุนัขควรอยู่ในท่ายืน ถ้าหากสุนัขยังนั่งอยู่ผู้ฝึกจะต้องกระตุกสายจูงเบาๆ และดึงให้ตึงสุนัขจะยืนขึ้นเอง ตบที่ขาข้างซ้ายของตัวเอง แล้วพูดคำว่า "ชิด" เพื่อสอนให้สุนัขรู้จักคำว่าชิด ในระยะแรกสุนัขอาจจะไม่เข้ามายืนเคียงข้างซ้ายของผู้ฝึกก็อย่าเพิ่งไปดุหรือเอ็ดเขา ผู้ฝึกจะต้องพลิกแพลงยืดหยุ่นบ้าง โดยการปรับตัวเองยืนในตำแหน่งที่ให้สุนัขอยู่เคียงข้างซ้ายผู้ฝึก จนกว่าสุนัขจะเข้าใจคำสั่งนี้ เมื่อสุนัขเข้าที่เรียบร้อยแล้วผู้ฝึกเริ่มก้าวเดินด้วยเท้าซ้ายก่อน อาจต้องดึงสายฝึกเล็กน้อยเพื่อให้สุนัขเริ่มทำตาม พยายามเดินช้าๆอย่ากระชากลากถูให้บ่าสุนัขอยู่ในแนวเดียวกับขาซ้าย ถ้ามันไม่ทำตามหรือเดินล้าหลังให้กระตุกสายฝึกเบาๆ จนกว่าจะเดินทันกัน และชมว่า "ดีมาก" เสมอ ถ้าหากสุนัขนำหน้าเพื่อหนีห่างไป อย่าเร่งฝีเท้าหรือวิ่งตามเพราะจะยิ่งเตลิดออกไป ค่อยๆดึงสายฝึกให้ช้าลง พยายามเดินคู่กับสุนัขและให้สุนัขเดินคู่กับผู้ฝึกให้ได้ ถ้าขณะใดที่สุนัขเผลอตัวไม่สนใจอาจจะกระตุกสายฝึก คอยเตือนให้สุนัขสนใจ การฝึกสุนัขในระยะต้นควรให้สุนัขเดินในทางตรงก่อนจนกว่าสุนัขจะเดินตามสายจูงได้ดีขึ้นจนเป็นที่พอใจของผู้ฝึก การเดินให้สลับกันไปดังนี้ เดินก้าวปกติ,วิ่ง,เดินก้าวช้ามากสลับกันไป เพื่อให้สุนัขสนใจและคอยระวังผู้ฝึกอยู่เสมอ ระหว่างการฝึกหากปรากฏว่าสุนัขแสดงอาการสนใจหรือปฏิบัติได้ดีขึ้นจงชมเชยด้วยการใช้มือตบที่ไหล่ของขาหน้า และชมว่า "ดี" หรือ "ดีมาก"เสมอ

การฝึกนั่ง


                 หลังจากที่ได้ทำการฝึกเดินจนสุนัขเข้าใจแล้ว ต่อมาอีก 2-3 วัน ให้ทำการฝึกให้สุนัขนั่ง การฝึกนั่งนี้ใช้ร่วมกับการฝึกเดิน เพราะท่านั่งของสุนัขจะต้องปฏิบัติต่อเนื่องกับการเดิน กล่าวคือบทเรียนนั่งนี้จะสอนให้สุนัขรู้จักนั่งทันทีโดยอัตโนมัติเมื่อหยุดเดิน

                 เริ่มต้นจากการพาสุนัขเดินอยู่ในตำแหน่งเดินชิด มือขวาถือสายจูงสุนัขเดินตามข้างผู้ฝึกอย่างมีระเบียบเรีบยร้อยอยู่ด้านซ้าย จากนั้นจึงสั่งให้สุนัขหยุดหรืออยู่ในตำแหน่งชิด ผู้ฝึกออกคำสั่ง "นั่ง" พร้อมกันนี้ให้ใช้มือขวาดึงสายฝึกเล็กน้อย ใช้มือซ้ายกดลงที่สะโพกของสุนัข การกดก้นหรือสะโพกนั้นผู้ฝึกจะต้องย่อตัวลงโดยที่เข่าจะต้องแนบไปกับลำตัวสุนัข เมื่อสุนัขนั่งลงเรียบร้อยแล้วให้ผ่อนมือขวาที่ดึงสายฝึกพร้อมกับชมเชยสุนัขว่า "ดี" หรือ "ดีมาก" และใช้มือตบที่ไหล่สุนัขเบาๆถ้าสุนัขขัดขืดหรือทำท่าว่าจะลุกจากตำแหน่งให้สั่งว่า "ไม่" แล้วสั่ง "นั่ง" ซ้ำอีก เมื่อสุนัขไม่ลุกจากตำแหน่งก็ให้ชมเชยสุนัข

การฝึกหมอบ


                   คำสั่ง "หมอบ" ใช้ร่วมไปกับสัญญาณมือโบกไปข้างล่าง สุนัขจะต้องตอบรับต่อเสียงที่สั่งและสัญญาณมือ และจะต้องหมอบลงฉับพลันไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง ยืน หรือเดินก็ตาม วิธีการฝึกสุนัขจากท่านั่งชิดจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ครั้งแรกจะใช้ท่าทางและคำสั่งไปพร้อมกัน ให้ผู้ฝึกใช้คำสั่ง "หมอบ" พร้อมกับกดสายฝึกด้วยมือซ้ายให้สุนัขหมอบลง มือขวาทำสัญญาณหมอบ ถ้าสุนัขคอเล็กโซ่ฝึกอาจจะหลวมก็อาจจะใช้มือซ้ายจับที่โซ่ฝึกแทนที่จะจับที่สายฝึก ถ้าสุนัขขัดขืนไม่ยอมหมอบให้ใช้มือขวาค่อยๆจับทีี่ใต้เท้าขวาของสุนัข ค่อยๆลากไปข้างหน้าเพื่อให้สุนัขเพื่อให้สุนัขหมอบลงพร้อมกับออกคำสั่งซ้ำๆ จนกว่าสุนัขจะปฏิบัติได้อย่างต้องการ อย่าใช้วิธีผลักสุนัขให้นอนลง การผลักไสดันตัวสุนัขจะทำให้สุนัขดิ้นรนเพื่อการทรงตัว

การฝึกคอย


                   วิธีการฝึกสุนัขให้คอยนั้น อาจทำได้ 2 กรณีคือ เมื่อสุนัขนั่งอยู่หรือหมอบอยู่ ควรฝึกในท่านั่งหรือนั่งชิด เริ่มจากการสั่งให้สุนัขนั่งลงใช้มือซ้ายทำสัญญาณโดยหันฝ่ามือเข้าหาสุนัขพร้อมกับใช้คำสั่ง "คอย" ออกเสียงชัดเจนลากเสียงเล็กน้อยแล้วค่อยๆ หมุนตัวกลับหันหน้าเข้าหาสุนัข ถ้าสุนัขไม่คอบแต่กลับลุกขึ้น ต้องใช้คำสั่ง "ไม่" แล้วจับตัวกลับไปไว้ที่เดิมแล้วเริิ่มฝึก "คอย" ใหม่ ขณะที่จับกลับไปนั่งที่เดิมนั้นอย่าไปชมสุนัข เพราะอาจทำให้เข้าใจผิดไปว่านั่นเป็นการฝึกบทใหม่ คราวนี้ผู้ฝึกจะเคลื่อนเท้าห่างออกไป 3 ก้าว ในขณะที่สุนัขคอย แล้วชมเชยเมื่อสุนัขไม่ขยับตัว

ประสงค์ สุวรรณมงคล. "การฝึกสุนัขให้ปฏิบัติตามคำสั่ง" ใน ความรู้เกี่ยวกับการฝึกสุนัข หน้า 79-58. นนทบุรี. สำนักพิมพ์แพค. 2545.





Creative Commons License
dogtraining by Kate Thitikan is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand License.